หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เริ่มต้นเรียนรู้พื้นฐานโครงสร้างภาษา C

สิ่งแรกที่เราต้องรู้ก่อนเขียนโปรแกรมภาษา C ก็คือ โครงสร้างของภาษา C ของตัวมันเองก่อน ซึ่งมีรูปแบบที่เข้าใจง่าย
1)
2)
3)
4)
5)
6)
7)
8)
#include <stdio.h>     /* Comment */

… Data Declarations …

int main( ) {
     … Executable Statments …;
     return 0;
}
โดยที่:
บรรทัด รายละเอียด
1 บรรทัดแรกนี้จำเป็นต้องกำหนดด้วยคำสั่ง #include เสมอ และจะต้องระบุไว้ด้านบนสุดของโปรแกรมอีกด้วย เพื่อเป็นการบอกให้โปรแกรมภาษา C รู้ว่าเราจะใช้ Library อะไรบ้าง ในที่นี้เราจะใช้ Library stdio.h ในบ้างครั้งเราอาจเรียก Library ว่า Header File ก็ได้นะครับ ส่วนวิธีการเขียนนั้นให้พิมพ์ #include และตามด้วย Header File ที่เราต้องการ โดยชื่อของ Header File นั้นจะอยู่ในเครื่องหมาย < และ > หรืออาจจะใช้เครื่อง “…” ก็ได้ เช่น #include “stdio.h>
ส่วน /* Comment */ เป็นการอธิบายการทำงานหรือรายละเอียดต่างๆ โดยกำหนดให้ข้อความอยู่ในเครื่องหมาย /* และปิดท้ายด้วย */ จะเขียนภายในบรรทัดเดียวกันหรือหลายบรรทัดก็ได้
3 เป็นการประกาศตัวแปร ซึ่งในที่นี้เราสามารถใช้ตัวแปรร่วมกันตลอดทั้งโปรแกรม
5 int main( ) เป็นฟังก์ชันในการทำงานที่มีจุดเริ่มต้นและจุดจบของโปรแกรมภายในฟังก์ชันนี้ ซึ่งเราจะต้องเขียนชื่อฟังก์ชันนี้ คือ main( ) ในบางครั้ง เราอาจจะเห็นโปรแกรมของที่อื่นที่เขียนโดยไม่ระบุคำสั่ง int อยู่หน้า main ก็สามารถทำได้ครับ แต่ในที่นี้ให้เขียนตามรูปแบบนี้ เมื่อเขียนรูปแบบของฟังก์ชัน main เสร็จแล้วจะต้องระบุเครื่องหมาย { และ } ด้วย เพื่อเป็นการระบุขอบเขตการทำงานของฟังก์ชัน ในที่นี้เครื่องหมาย } จะอยู่บรรทัดที่ 8
6 ส่วนในบรรทัดนี้เป็นส่วนที่เราจะต้องใช้คำสั่งต่างๆ ในการเขียนโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมทำงานตามที่ต้องการ และยังสามารถสร้างตัวแปรภายในฟังก์ชันได้อีกด้วย ซึ่งตัวแปรที่อยู่ภายในฟังก์ชันนั้น จะมีผลในการทำงานภายในฟังก์ชันเท่านั้น ไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ตลอดทั้งโปรแกรม ไม่เหมือนกับการประกาศตัวแปรที่อยู่ในบรรทัดที่ 3 (ใช้ร่วมกันได้)
7 เป็นการส่งค่าคืนให้กับระบบ ในที่นี้ให้ใช้ตามรูปแบบที่กำหนดให้ คือ return 0
หมายเหตุ:
  • เราจะใช้เครื่องหมาย ; เป็นการจบคำสั่งของบรรทัดนั้นๆ เช่น return 0;

ขายอาคารพาณิชย์ ใกล้โรงแรมเสาวลักษณ์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

อาคารพาณิชย์สุราษฎร์ธานี

ที่อยู่: 99/37 หมู่ที่ 1 ถ.กาญจนวิถี ต.บางกุ้ง อ.เมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สถานที่: อยู่ใกล้โรงแรมเสาวลักษณ์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางเข้าหมู่บ้านเสาวลักษณ์

จำนวนชั้น: 3 ชั้น

ราคาขาย: 2,500,000 บาท (เจ้าของขายเอง)

สนใจติดต่อ: (วราวุฒิ) 083-0698-410 หรือ awarawut@hotmail.com

รายละเอียด:

เคยเปิดคลังจำหน่ายสินค้าและร้านเช่าวีดีโอ จำนวน 3 ชั้น ติดแอร์ทั้ง 3 ชั้น ชั้นแรก กั้นห้องเป็นห้องทำงานกับห้องครัว ชั้น 2 สามารถจัดเป็นห้องประชุม และมีห้องเล็กอีก 1 ห้อง (ไม่ติดแอร์) ชั้น 3 มีห้องนอน 2 ห้อง ห้องใหญ่ติดแอร์ ตู้เสื้อผ้า Build in ส่วนห้องน้ำมี 2 ชั้น คือ ชั้นแรกกับชั้นที่ 3 ที่ไม่ติดจำนอง

ชั้นแรก อาคารพาณิชย์สุราษฎร์ธานี ชั้น 2 อาคารพาณิชย์สุราษฎร์ธานี

ชั้นแรก - ร้านเช่าวีดีโอ

ชั้น 2 - ห้องประชุม

ชั้น 3 อาคารพาณิชย์สุราษฎร์ธานี  

ชั้น 3 - ห้องนอน (ใหญ่)

 

แผนที่:

แผนที่อาคารพาณิชย์สุราษฎร์ธานี

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ตัวอย่างโปรแกรม C - แม่สูตรคูณ

ความสามารถของโปรแกรมตัวนี้ คือ ต้องระบุแม่สูตรคูณให้อยู่ระหว่างแม่ 2 ถึงแม่ 12 เท่านั้น ถ้าอยู่ในช่วงแม่ 2 ถึง 12 ให้แสดงผลลัพธ์จากการคูณ แต่ถ้านอกเหนือจากที่กำหนดให้แสดงคำว่า “Out of range” แทน
เรามาพิจารณาทีละจุด ดังนี้
เมื่อพิจารณาดีๆ แล้วจะเห็นว่ามีการทำซ้ำหรือวนลูป (Loop) คือ การคูณกันของแม่สูตรคูณ ตั้งแต่ 1 – 12
การแสดงผล (Output) : แสดงผลลัพธ์จากการคูณกันของแม่สูตรคูณที่เรากำหนด
การนำข้อมูลเข้า (Input) : ตัวเลขแม่สูตรคูณที่เราต้องการ
การประมวลผล (Processing) :
  • ป้อนข้อมูลที่เป็นตัวเลขแม่สูตรที่เราต้องการ
  • ตรวจสอบตัวเลขแม่สูตรที่เราป้อนเข้ามาให้อยู่ในช่วงตัวเลข 2 – 12 เท่านั้น ถ้าไม่อยู่ในขอบเขตให้แสดงคำว่า “Out of range” ถ้าอยู่ในขอบเขตแสดงผลลัพธ์จากการคูณ
การกำหนดตัวแปร (Variable) :
  • num - ตัวเลขที่เป็นแม่สูตรคูณที่เราต้องการ
  • i - จำนวนครั้งในการคูณกันของแม่สูตรคูณ ตั้งแต่ 1 – 12
 Source Code:
int main( ) {
     int num, i;

     printf(“Enter number: ”);
     scanf(“%d”, &num);

     if ((num >= 2) && (num <= 12)) {
          for (i = 1; i <= 12; i++)
               printf(“%d x %d = %d\n”, num, i, (num*i));
     } else
          printf(“Out of range”);

     return 0;
}

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ก่อนเขียน PHP ต้องเข้าใจ HTML

ก่อนที่จะเรียนรู้ว่าภาษา PHP นั้นเขียนอย่างไงนั้น มีสิ่งหนึ่งที่เราจำเป็นต้องรู้ก็คือ คำสั่งต่างๆ ของภาษา HTML นั้นเองครับ  เนื่องจากว่าการเขียนด้วยภาษา PHP นั้น มีการใช้คำสั่งร่วมกับคำสั่งภาษา HTML ด้วย   ดังนั้นเราจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับคำสั่งต่างๆ ของภาษา HTML บ้าง แต่ก็ใช่ว่าต้องรู้ถึงรายละเอียดทั้งหมดนะครับ เอาเป็นว่ารู้แค่ว่ามันทำอะไรได้บ้างเท่านั้นเองก็พอแล้วครับ สำหรับคนเริ่มต้น นอกจากว่าเราจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่างๆ ในการสร้างสรรค์งานของเรา เราก็ค่อยกลับมาศึกษาเพิ่มเติมถึงรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติม
HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาพื้นฐานในการแสดงข้อมูลผ่านทางเว็บเบราเซอร์ ซึ่งสามารถแสดงได้ทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และสื่อมัลติเดียอื่นๆ สังเกตง่ายๆ ก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .html หรือ .htm ครับ
ข้อจำกัดของ HTML คือ การแสดงข้อมูลผ่านทางเว็บเบราเซอร์นั้นจะเป็นข้อมูลที่ตายตัว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Static Page ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเขียนเว็บเพจในวันที่ 19 พ.ค. 2554 และในเว็บเพจมีการวันที่ปัจจุบันอยู่ด้วยในเว็บเพจของเราด้วย เวลาผ่านไป 1 ปี วันที่ปัจจุบันที่อยู่ในเว็บเพจก็ยังเป็นวันที่ 19 พ.ค. 2554 เหมือนเดิม แทนที่จะเป็นวันที่ 19 พ.ค. 2555 ซึ่งนี้ก็เป็นข้อจำกัดอีกข้อหนึ่ง ดังนั้นเราก็มีความจำเป็นที่จะต้องเขียนสคริปต์ (Script) ด้วยภาษาต่างๆ เพื่อทำให้วันที่เว็บเพจแสดงวันที่ปัจจุบันออกมา
คำสั่งต่างๆ ในภาษา HTML เราจะเขียนอยู่ในเครื่องหมาย < … > ในรูปแบบ < คำสั่ง > ซึ่งจะเรียกว่า “แท็ก” (Tag) ต่อไปเราจะเรียนคำสั่งของภาษา HTML ว่า Tag แทนนะครับ (ข้อตกลง)
รูปแบบของ Tag สามารถแบ่งได้ดังนี้
  1. รูปแบบคำสั่งที่มีเพียงคำสั่งเดียว (แท็กเดียว) - สามารถใช้งานและสิ้นสุดการทำงานได้เลย เช่น คำสั่ง <br> เป็นต้น
  2. รูปแบบคำสั่งที่แยกออกเป็น 2 ส่วน (แท็กคู่) - มีส่วนเริ่มต้นและส่วนจบของคำสั่ง โดยส่วนจบของคำสั่งจะต้องมีเครื่องหมาย “Slash” (/) กำกับไว้หน้าแท็กนั้น เช่น <title>ฝึกเขียน HTML ครั้งแรก</title> เป็นต้น
โครงสร้างของภาษา HTML
<html>
<head>
<title> ข้อความที่แสดง title bar ของ browser </title>
</head>
<body>
     ………
     ………
     ………
</body>
</html>
โดยที่:
  • <head><title> ข้อความที่แสดง title bar ของ browser </title></head> –> ใส่รายละเอียดต่างๆ ของเว็บเซิร์ฟเวอร์ เช่น ชื่อเว็บเพจ หรือ URL ของเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น เช่น tag <title> ใช้กำหนดข้อความที่จะแสดงในตำแหน่ง title bar ของ browser
  • <body> ………. </body> –> ใช้ระบุข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และสื่อมัลติมีเดียอื่นๆ ตามที่เราต้องการ ซึ่งจะแสดงที่เว็บเบราเซอร์นั้นๆ
สำหรับบทความพอแค่นี้ก่อนครับ เพื่อไม่ให้เครียดมากไปกว่านี้

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตัวอย่างโปรแกรม C - สร้างรูปสามเหลี่ยม

ตัวอย่าง 1:

*
* *
* * *
* * * *
* * * * *

เราพิจารณาจากรูป จะเห็นว่า เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดเริ่มต้นอยู่ทางด้านซ้ายเป็นหลัก มีแถวทั้งหมด 5 แถว (rows) โดยแต่ละแถวจะแสดงเครื่องหมาย "*" ตามจำนวนของบรรทัดหรือแถวนั้นๆ เช่น แถวแรก จะแสดงเครื่องหมาย "*" ตัวเดียวเท่านั้น และถ้าเป็นแถวที่ 4 ก็จะแสดงเครื่องหมาย "*" 4 ตัวด้วยกัน เพราะฉะนั้นเราจะใช้ loop ในการทำงานทั้งหมด 2 loop ด้วยกัน โดยกำหนดให้ loop แรก ทำหน้าที่เป็นแถว และ loop ที่ 2 ทำหน้าที่แสดงเครื่องหมาย "*" เท่ากับจำนวนของแถวนั้นๆ (อธิบายก่อนหน้า)

Source Code:

int main ( ) {
     int r, c; // r - row, c - column

     for (r = 0; r < 5; r++) {
          for (c = 0; c <= r; c++) {
               printf("*");
          }
          printf("\n");
     }
     return 0;
}

จาก Source Code ที่เขียนมาได้ใช้ for loop ซึ่งง่ายและสะดวก แต่ถ้าต้องการใช้ loop อื่นก็สามารถทำได้นะครับ ลองนำไปประยุกต์ดูครับ

ตัวอย่าง 2:

* * * * *
* * * *
* * *
* *
*

เราพิจารณาจากรูป จะเห็นว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดเริ่มต้นอยู่ทางด้านซ้ายเป็นหลัก มีแถวทั้งหมด 5 แถว (rows) โดยแต่ละแถวจะแสดงเครื่องหมาย "*" เช่นกัน (คล้ายตัวอย่างที่ 1) ในการแสดงเครื่องหมาย "*" ของแถวแรกจะแสดงทั้งหมด 5 ตัวด้วยกัน และลดลงตามลำดับ เพราะฉะนั้นเราจะ loop ในการทำงานทั้งหมด 2 loop ด้วยกัน โดยกำหนดให้ loop แรก ทำหน้าที่เป็นแถว และ loop ที่ 2 ทำหน้าที่แสดงเครื่องหมาย "*"

Source Code:

int main( ) {
     int r, c; // r - row, c - column

     for (r = 0; r < 5; r++) {
          for (c = 0; c < 5-r; c++) {
               printf("*");
          }
          printf("\n");
     }
     return 0;
}

ถ้าพิจารณาจาก Source Code ที่เขียนจะเห็นว่ามีลักษณะคล้ายกัน ใช่ไหมครับ แต่สิ่งที่เปลี่ยน (แก้ไข) คือ c < 5-r ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการตรวจสอบที่อยู่ใน loop ของ c และยังใช้ for loop ซึ่งง่ายและสะดวก แต่ถ้าต้องการใช้ loop อื่นก็สามารถทำได้นะครับ ลองนำไปประยุกต์ดูครับ แต่ถ้าเขียนอีกรูปแบบหนึ่งก็จะได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกััน (เหมือนกัน)

Source Code:

int main ( ) {
     int r, c; // r - row, c - column

     for (r = 5; r > 0; r--) {
          for (c = 0; c < r; c++) {
               printf("*");
          }
          printf("\n");
     }
     return 0;
}

ถ้าพิจารณาจาก Source Code ที่เขียนจะเห็นว่ายังมีลักษณะคล้ายกัน แต่ปรับเปลี่ยนหลักการทำงานใหม่ คือ ให้ค่าเริ่มต้นของแถว จากเดิมเป็น 0 เปลี่ยนเป็น 5 ที่ loop ของ r และเป็นเงื่อนไขที่ loop ของ c ด้วย (สังเกตที่สีนะครับ)

สุดท้ายเป็นข้อคิดนะครับ:
จากตัวอย่างที่แสดงให้เห็นนั้นจะสังเกตได้ว่าแนวคิดจะเหมือนกัน (คล้ายกัน) เพียงแต่กระบวนการประมวลผลหรือการเปรียบเทียบเงื่อนไขอาจแตกต่างกัน แต่ผลลัพธ์ที่ได้จะเหมือนกัน เพราะฉะนั้น แนวคิดอาจจะเหมือนกัน แต่กระบวนการอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ครับ (ฝากให้คิด)

สร้าง Template เป็นเรื่องง่ายๆ ด้วย Artisteer


โปรแกรม Artisteer เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างสรรค์งานหน้าเว็บไซต์ของเราให้ง่ายขึ้น หรืออาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการสร้าง Template ให้กับเว็บไซต์ที่ใช้เว็บสำเร็จ หรือ CMS (Content Management System) ของ Joomla, Drupal, Wordpress, Blogger และ DotNetNuke ซึ่งโปรแกรม Artisteer ตัวนี้ใช้ง่ายจริงๆ ครับ (ทดลองแล้ว) ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคำสั่งต่างๆ ในการสร้างเว็บไซต์

ถ้ามีใครถามผมว่า ทำไมเราต้องสร้าง Template ด้วย ในเมื่อ Template ฟรีก็มีอยู่มากมายให้เรา Download นำมาใช้ได้เลย ผมก็จะตอบว่า Template ที่ Download มาฟรีนั้น มันเป็นเอกลักษณ์ (Identify) ของเว็บไซต์ของคุณหรือเปล่า แน่นอนมันฟรี แต่ก็มีคนอื่นๆ นำมาใช้ก็ค่อยข้างเยอะ (คิดเองครับ) ดี ไม่ดี อาจโดย Script ที่เจาะระบบเว็บไซต์ของเราแถมมาด้วย (ของแถมแบบนี้ไม่เอา) จะเป็นเรื่องดีไหมถ้าเราสร้าง Template เอง แต่ตรงกับความต้องการของเราเอง (เจ้าของเว็บไซต์) และเจ้าโปรแกรม Artisteer ตัวนี้เพียงเราจัดตำแหน่งและรูปภาพตามที่เราต้องการและหลังจากนั้นก็ Export เป็นของ CMS นั้นๆ เท่านี้เองครับ (มันง่าย ยิ่งกว่าง่าย)

ถ้าสนใจสามารถเข้าไป Download ได้ที่
http://www.artisteer.com
ซึ่งมีทั้งรุ่นทดลองและต้องเสียเงินครับ

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เตรียมความพร้อมก่อนเขียน PHP

ใครที่ต้องการอยากจะเขียนเว็บไซต์ด้วยภาษา PHP เราจะต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับการใช้คำสั่งต่างๆ ในภาษา HTML (Hyper Text Makeup Language) อยู่บ้าง ไม่ต้องถึงขนาดที่ต้องรู้รายละเอียดทั้งหมด ขอแค่รู้คำสั่งที่จำเป็นในการใช้งานก็เพียงพอแล้ว  เนื่องจากว่าในการเขียนด้วยภาษา PHP นั้น มีการเขียนคำสั่งร่วมกับคำสั่ง HTML ด้วย
เพราะฉะนั้นเราก็จำเป็นต้องเรียนรู้คำสั่ง HTML บ้างที่เป็นคำสั่งหลักในการเรียกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งในการจัดรูปแบบของข้อความ การจัดรูปแบบของตัวอักษร รวมทั้งการจัดทำฟอร์ม (Form) ในการรับข้อมูลต่างๆ ในการใช้งานร่วมกับฐานข้อมูล (Database)